บทที่ 1
บทนำ
แนวคิด ที่มาและความสำคัญ
ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ
เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมอันก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพ
และเสริมสร้างบุคลิกภาพของคนในชาติให้มีความเป็นไทย เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
ทำให้สามารถประกอบกิจธุระการงานและดำรงชีวิตร่วมกันในสังคมประชาธิปไตยได้อย่างสันติสุข และเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้
ประสบการณ์จากแหล่งข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ เพื่อพัฒนาความรู้ ความคิดวิเคราะห์ วิจารณ์ และสร้างสรรค์ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี
ตลอดจนนำไปใช้ในการพัฒนาอาชีพให้มีความมั่นคงทางสังคมและเศรษฐกิจ
นอกจากนี้ยังเป็นสื่อที่แสดงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษด้านวัฒนธรรม ประเพณี ชีวทัศน์
โลกทัศน์ และสุนทรียภาพ
โดยบันทึกไว้เป็นวรรณคดีและวรรณกรรมอันล้ำค่า
ภาษาไทยจึงเป็นสมบัติของชาติที่ควรค่าแก่การเรียนรู้
เพื่ออนุรักษ์และสืบสานให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544
มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาไทยเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจและสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกัน
ทำให้สามารถประกอบกิจธุรการงานและดำรงชีวิตร่วมกันในสังคมอย่างมีสันติสุข
เป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้และประสบการณ์จากแหล่งข้อมูลสานสนเทศต่างๆ
เพื่อพัฒนาความรู้ ความคิด วิเคราะห์ วิจารณ์
และสร้างสรรค์ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี ตลอดจนนำไปใช้ในการพัฒนาอาชีพให้มีความมั่นคงทางสังคมและเศรษฐกิจ
นอกจากนี้ยังเป็นสื่อที่แสดงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษด้านวัฒนธรรม ประเพณี ชีวทัศน์
โลกทัศน์และสุนทรียภาพ โดยบันทึกไว้เป็นวรรณคดีและวรรณกรรมอันล้ำค่า ภาษาไทยจึงเป็นสมบัติของชาติที่ควรค่าแก่การเรียนรู้
เพื่ออนุรักษ์และสืบสานให้อยู่คู่ชาติไทยตลอดไป
วัตถุประสงค์
-
เพื่อศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับหนังสือเรียนวิชา ภาษาไทย
-
เพื่อให้ผู้เรียนมีนิสัยรักการอ่าน
การเขียน การแสวงหาความรู้และใช้ภาษาในการพัฒนาตน
และสร้างสรรค์งานอาชีพ
-
เพื่อให้ผู้เรียนความคิดสร้างสรรค์
คิดอย่างมีเหตุผลและคิดเป็นระบบ
ขอบเขตของโครงงาน
1.
จัดทําโครงงานคอมพิวเตอร์ การศึกษาค้นคว้าหนังสือเรียน วิชาภาษาไทย
2.
วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
- หนังสือเรียนวิชาภาษาไทย
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.
ได้รับความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่นํามาเป็นบทเรียนในการใช้ภาษา
2.
เข้าใจความหมายของคำ สำนวน
โวหาร การเปรียบเทียบ จับประเด็นสำคัญ แยกข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็น วิเคราะห์ความ
ตีความ สรุปความ
3.
นำความรู้ที่ได้จากการอ่านไปใช้แก้ปัญหา
ตัดสินใจ คาดการณ์ และใช้การอ่านเป็นเครื่องมือในการพัฒนาตน
4.
ตระหนักในวัฒนธรรมการใช้ภาษาและความเป็นไทย
ภูมิใจและชื่นชมในวรรณคดีและวรรณกรรมซึ่งเป็นภูมิปัญญาของคนไทย
5.
สามารถนำทักษะทางภาษามาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้องตามกาลเทศะและบุคคล
6.
ใช้ทักษะทางภาษาเป็นเครื่องมือการเรียน
การดำรงชีวิต
และการอยู่ร่วมกันในสังคม รวมทั้งใช้ได้ถูกต้องเหมาะกับบุคคลและสถานการณ์
7.
เขียนเรียงความ ย่อความ จดหมาย
เขียนอธิบาย เขียนชี้แจงการปฏิบัติงาน และรายงาน
เขียนเรื่องราวจากจินตนาการและเรื่องราวที่สัมพันธ์กับชีวิตจริง
จดบันทึกความรู้ ประสบการณ์ เหตุการณ์
และการสังเกตอย่างเป็นระบบ
8.
มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี
และสร้างความสามัคคีในความเป็นชาติไทย
9.
เข้าใจลักษณะของคำไทย
คำภาษาถิ่น
และคำภาษาต่างประเทศที่ปรากฏในภาษาไทย
10.
มีมารยาทการอ่าน การเขียน การฟัง
การดู และการพูด มีนิสัยรักการอ่าน
และการเขียน
บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
การสอนทักษะการเขียนเพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้ทักษะได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น
ปัญหาสำคัญอยู่ที่การไม่มีความรู้ ประสบการณ์ ความช่างสังเกต ความคิด
การใช้ภาษาและการไม่ฝึกฝนการเขียน
แม้ว่าผู้เขียนจะมีพื้นฐานของการเป็นผู้เขียนที่ดีดังกล่าวแล้วทั้งหมด
แต่ถ้าไม่ริเริ่มที่จะเขียนและฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ ก็คงไม่อาจเป็นผู้เขียนที่ดีได้
เพราะการฝึกฝนย่อมช่วยเพิ่มพูนทักษะการเขียนให้ดีขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งนับได้ว่าการเขียนเพื่อพัฒนาการเขียนหรือเป็นการใช้กระบวนการเขียนพัฒนางานเขียน
ทั้งยังเป็นการปลูกฝังนิสัยรักการเขียนอีกด้วย
การฝึกฝนความคิดสร้างสรรค์ประเภทเรียงความจึงเป็นหน้าที่ครูภาษาไทย
ที่จะต้องคิดหากลวิธีการสอนและเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ เพื่อฝึกฝนทักษะการเขียนเรียงความของนักเรียน
เพราะผลงานด้านการเขียนเรียงความของนักเรียน คือ
การแสดงความคิดสร้างสรรค์ในการใช้ภาษานั่นเอง
การวิจักษ์วรรณคดี
วรรณคดี เป็นหนังสือแต่งดี มีคุณค่าด้านเนื้อหาสาระและคุฯค่าทางวรรณศิลป์
การที่จะนิยมหรือยอมรับว่าหนังสือเรื่อใดแต่งดีหรือมีคุณค่า
ผู้อ่านต้องสนใจใคร่รู้และควรอ่านอย่างไตร่ตรองให้ถ่องแท้ เพื่อจะได้เข้าใจในเรื่องราว
และได้รับอรรถรสของบทประพันธ์โดยผู้อ่านอาจจะพิจารณาว่าหนังสือเล่มนั้นมีเรื่องราวและเนื้อหาสาระอย่างไร
มีคุณค่าและความงามในด้านใด การอ่านในลักษณะนี้เรียกว่า “การอ่านวิจักษ์”
เป็นพื้นฐานของกานวิเคราะห์ การวิจารณ์ แลการประเมินคุณค่าวรรณคดี
๑.
การวิจักษ์และวิจารณ์วรรณคดี
วรรณคดี หมายถึง หนังสือซึ่งได้รับการยกย่องว่าแต่งดี
วิจักษ์ หมายถึง ที่รู้แจ้ง ที่เห็นแจ้ง ฉลาด มีสติปัญญา เชี่ยวชาญ ชำนาญ
การวิจักษ์วรรณคดี จึงหมายถึงการอ่านวรรณคดีโดยใช้ความคิดพิจารณาไตร่ตรอง
กลั่นกรองแยกแยะ และแสวงหาเหตุผล เพื่อประเมินคุณค่าของวรรณคดีได้อย่างมีเหตุผล
ส่วนการวาจารณ์วรรณคดีนั้น เป็นการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับวรรณคดีที่อ่าน
แล้วสามารถบอกได้ว่าวรรณคดีเรื่องนั้นดีหรือไม่ดีอย่างไร
ชอบหรือไม่ชอบด้วยเหตุผลใด
๒.ความสำคัญของวรรณคดี
วรรณคดี เป็นมรดกที่บรรพบุรุษทิ้งไว้ และเป็นที่นิยมตกทอดเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันนควานิยมดังกล่าวนี้สังเกตได้จากความนิยมของผู้อ่าน
ฟัง เล่า อ้างถึง หรือนำมาเล่นเป็นมหรสพสืบต่อกันมา
วรรณคดีมักจะแสดงสภาพชีวิตของคนในสมัยที่มีการประพันธ์วรรณคดีเรื่องนั้นๆ
ขณะเดียวกันก็มักจะแทรกแนวความคิดและปรัชญาชีวิตของกวีได้ด้วยกลวิธีอันแยบยล
จนก่อให้เกิดอารมณ์เสทือนใจแก่ผู้อ่านและชวนให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ร่วมไปกับกวีเสมอจึงกล่าวได้ว่าวรรณคดีมีคุณค่าทั้งในทางประวัติศาสตร์
สังคม และอารมณ์ ตลอดจนมีคุณค่าในด้านคติสอนใจ
ดังนั้นการวิจักษ์วรรณคดีจึงช่วยเสริมสร้างลักษณะนิสัยอันดีให้แก่ผู้วิจักษ์
คือทำให้ผู้วิจักษ์เป็นผู้ที่มีเหตุผล มีความยุติธรรม
และมีวิจารณญาณอันเป็นคุณสมบัติที่ส่งผลสะท้อนไปถึงประโยชน์ส่วนอื่นในการดำรงชีวิต
ฉะนั้น
ผู้อ่านที่หวังจะได้รับประโยชน์จากการอ่านวรรณคดีจึงควรอ่านอย่างพินิจพิเคราะห์
คืออ่านอย่างละเอียด แล้วคิดหาเหตุผลแยกแยะส่วนประกอบของวรรณคดีโดยไม่ยึดถือความรู้สึกหรือประสบการณ์ส่วนตนเป็นหลักในการตัดสินวรรณคดีด้วยความตระหนักในหลักความจริงที่ว่า
แต่ละคนย่อมมีความรู้สึกหรือประสบการณ์ที่ต่างกันดังนั้นการประเมินค่าวรรณคดีที่ถูกต้องจะต้องใช้เหตุผลเสมอ
พร้อมกันนี้ขณะที่กำลังติดตามอ่านเรื่องตั้งแต่ต้นจนจบ
ผู้วิจักษ์ก็ควรจะคิดตั้งคำถามอยู่ในใจด้วยว่า
อ่านแล้วได้รับสาระอะไรจากวรรณคดีในบางครั้งผู้วิจักษ์วรรณคดีอาจมีความจำเป็นต้องหาความรู้ประกอบ
เพื่อให้เข้าใจเรื่องอย่างชัดเจนและรวดเร็วขึ้นการอ่านอย่างละเอียดโดยวิธีดังกล่าวนี้จะเป็นแนวทางนำผู้อ่านให้ไปสู่ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับวรรณคดีเรื่องนั้นๆได้
และสามาถประเมินคุณค่าวรรณคดีได้อย่างถูกต้องและมีเหตุผล
๓.เนื้อหา
เนื้อหาในวรรณคดีไทยนั้นอาจมีหลากหลาย
อาจจำแนกได้ตามลักษณะเนื้อหาและเรื่องราวดังต่อไปนี้
๑)
วรรณคดีศาสนา
มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างศรัทธาและสั่งสอนให้เข้าใจสาระของศาสนา
๒)
วรรณคดีคำสอน รจนาขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการนำไปประพฤติปฏิบัติ
๓)
วรรณคดีขนบธรรมเนียมและพิธีกรรม มี ๒ ลักษณะคือ
เป็นบทที่นำไปใช้ในการประกอบพิธี มีเนื้อหาและการใช้ภาษาที่ไพเราะ อีกลักษณะหนึ่งคือ
มีเนื้อหาหรือรายละเอียดเกี่ยวกับพี่ธีกรรมและขนบธรรมเนียมและพิธีกรรมต่างๆ
๔)
วรรณคดีประวัติศาสตร์ มักมีเนื้อหาเกี่ยวกับการศึกสงคราม
การสดุดีวีรชนที่กล้าหาญ และเล่าถึงเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในบ้านเอง
๕)
วรรณคดีบันทึกการเดินทาง มันมีเนื้อหาพรรณนาความรักความอาลัยของกวีที่ต้องจากนางอันเป็นที่รัก
หรือเล่ารายละเอียดเกี่ยวกับการเดินทาง การบรรยายสภาพสังคมและวัฒนธรรม
รวมทั้งการแสดงทัศนะต่อเหตุการณ์ที่กวีพบเห็นขณะเดินทาง
๖)
วรรณคดีเพื่อความบันเทิง มักมีเนื้อหาสาระจากนิทาน จักรๆวงศ์ๆ
หรือนิยายท้องถิ่นที่มีเค้าเรื่องจริง
เนื้อหาเป็นนิทานนั้นเหมาะสำหรับการแต่งเป็นวรรณคดี เพราะมีความครบทุกอรรถรส
๔. จุดประสงค์สำคัญของการอ่านวรรณคดี
มีแนวทางในการอ่านดังนี้
๑)
ไม่ควรอ่านเพื่อความเพลิดเพลินอย่างเดียว
๒)
ควรแสดงความคิดเห็นหรือวิจักษ์วรรณคดีเรื่องที่อ่านด้วย
๓)
ควรอ่านวรรณคดีที่มีคุณค่าและได้รับการยกย่อง
๕.หลักเกณฑ์การวิจักษ์วรรณคดี
การวิจักษ์วรรณคดีจะมีหลักเกณฑ์กว้างๆ สำหรับเป็นแนวทางให้แก่ผู้ศึกษาและวิจารณ์วรรณคดี
ดังนี้
ประวัติความเป็นมาของหนังสือและประวัติผู้แต่ง
ลักษณะการประพันธ์
เนื้อเรื่องย่อ
การวิเคราะห์เรื่อง
๑)
โครงเรื่อง
๒)
ตัวละคร
๓)
ฉาก
๔)
กลวิธีการแต่ง
๕)
ทัศนะกวี
๖)
ความคิดสร้างสรรค์
๗) ท่วงทำนองการแต่งของกวี
๘)
แนวคิดและจุดมุ่งหมายในการแต่ง
๙)
คุณค่าด้านต่างๆของวรรณคดี
๕.๑ ประวัติความเป็นมาของหนังสือ
และประวัติผู้แต่ง
ในการศึกษาประวัติความเป็นมาของวรรณคดี
นักเรียนควรมีความรู้เรื่องสมัยที่แต่ง ระยะเวลาที่แต่ง ผู้แต่ง
และที่มาของหนังสือเล่มนั้นๆ
ซึ่งรวมทั้งควรมีความรู้เรื่องรสนิยมและค่านิยมของสมัยที่แต่งวรรณคดีด้วย
เพราะสิ่งเหล่านี้จะช่วยศึกษาให้ผู้อ่านเข้าใจว่า เหตุใดกวีสมัยหนึ่งจึงนิยมแต่งนิราศประเภทกลอนมากที่สุด
ผู้เป็นต้นโวหารนั้นคือใคร
ส่วนในเรื่องที่เกี่ยวกับประวัติผู้แต่ง นักเรียนควรจะสนใจในประเด็นสำคัญๆ
๒ ประเด็นคือ ประเด็นแรก ได้แก่
การพิจารณาว่าชีวิตของผู้แต่งมีอิทธิพลต่อผลงานของเขามากน้อยเพียงใด ประเด็นที่
๒ได้แก่การพิจารณาว่าผลงานเรื่องนั้นๆ สะท้อนให้เห็นถึงชีวิตผู้แต่งมากน้อยเพียงใด
๕.๓ ลักษณะการประพันธ์
๑) ร้อยกรอง คืองานประพันธ์ที่มีลักษณะบังคับหรือการแต่งในการกำหนดคณะ
หนังสือร้อยกรองสามารถจำแนกได้เป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ ๕ ประเภท คือ
๑.๑) โคลง
เป็นร้อยกรองที่มีระเบียบบังคับคณะ คำเอก คำโท และสัมผัสเป็นสำคัญ แบ่งออกเป้ ๓
ประเภทใหญ่ๆคือ
(๑) โคลงสุภาพ
(๒) โคลงต้น
(๓) โคลงโบราณ
๑.๒) ฉันท์ เป็นร้อยกรองที่มีลักษณะบังคับ ครุ ลหุ
หรือคำที่มีเสียงหนักเบาบังคับจำนวนคำและสัมผัสเป็นสำคัญ
๑.๓) กาพย์ เป็นร้อยกรองที่มีระเบียบบังคับคล้ายฉันท์
จะต่างกันที่กาพย์ไม่ได้กำหนด ครุ ลหุ เท่านั้น
๑.๔) กลอน เป็นร้อยกรองที่บังคับคณะ สัมผัส และเสียงวรรณยุกต์แบ่งออกเป็นหลายประเภท
และมีชื่อต่างกันออกไป
๑.๕) ร่าย เป็นร้อยกรองที่บังคับคณะ สำผัส
๒) ร้อยแก้ว หมายถึง
งานประพันธ์ที่ไม่มีลักษณะบังคับในการแต่งหรือกำหนดคณะอย่างร้อยกรอง
เป็นหนังสือที่เรียบเรียงตามภาษาที่ใช้เขียนหรือพูดกันทั่วไป
๕.๓ เนื้อเรื่องย่อ
ผู้ศึกษาควรอ่านหนังสือที่จะวิจารณ์อย่างพินิจพิเคราะห์
เพื่อค้นหาความหมายของตัวอักษรให้ได้ในชั้นต้น เป็นทำนองว่า อ่านเอาเรื่องว่า ใคร
ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร แล้วสรุปเป็นเนื้อหาเรื่องย่อไว้
จะได้เป้นพื้นฐานในการอ่านทำความเข้าใจต่อไป
๕.๔ การวิเคราะห์เรื่อง
การวิเคราะห์เรื่องได้แก่ การแยกแยะองค์ประกอบย่อยของเรื่อง เพื่อให้รู้จักลักษณะ
และความสำคัญของแต่ละส่วน
แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันของแต่ละส่วนย่อยที่ประกอบเป็นวรรณคดีเรื่องหนึ่งๆ
ดังนี้
๑. โครงเรื่อง
๒. ตัวละคร
๓. ฉาก
๔. กลวิธีการแต่ง
๔.๑
การใช้คำ สามารถแยกย่อยออกได้ดังนี้
- การเลือกสรรคำเหมาะกับเนื้อเรื่อง
- การเลือกสรรคำที่มีเสียงเสนาะ
๕)
ทัศนะกวี หรือกวีทัศน์
ได้แก่การที่กวีแสดงความคิดเห็นตามแนวนึกคิดของกวีปกติเมื่อเราเห็นอะไร
เราก็แลเห็นเฉพาะรูปร่างหรือกิริยาอาการต่างๆที่ปรากฏแกสายตาเราเท่านั้น
แต่กวีนั้นเห็นต่างจากเรา เพราะกวีเห็นได้ด้วยใจและความนึกคิด
๖) ความคิดสร้างสรรค์ หมายถึง
ความคิดริเริ่มที่มาจากตัวของกวีเองซึ่งยังไม่เคยมีปรากฏในที่ใดมาก่อน
หรือถ้าจะได้ความคิดมาจากกวีรุ่นเก่าก็ต้องนำมากล่าวถึงในแง่มุมที่แตกต่างออกไปจากเดิม
๗) ท่วงทำนองการแต่งของกวี (Stele) กวีแต่ละคนย่อมมีแนวการแต่งเป็นแบบเฉพาะของตนเอง
จนผุ้อ่านสามารถสรุปได้
การวิเคราะห์ท่วงทำนองการแต่งของกวี หมายถึง
การศึกษาเรื่องวิธีการใช้คำลีลา จังหวะ สัมผัส และวิธีการใช้โวหารของกวี
ตลอดจนการศึกษาเรื่องทัศนคติของกวีต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดด้วย
๘)
แนวคิดและจุดมุ่งหมายในการแต่ง
แนวคิดหรือแก่นของเรื่องหมายถึงสาระสำคัญที่ผู้แต่งต้องการสื่อมายังผู้อ่าน
สาระดังกล่าวนี้จะปรากฏขึ้นสม่ำเสมอขณะที่เนื้อเรื่องดำเนินไป
เมื่อผู้อ่านได้อ่านเรื่องจนจบก็จะเกิดความเข้าใจและสรุปได้ว่าแนวคิดของเรื่องนั้นคืออะไร
๙) คุณค่าด้านต่างๆของวรรณคดี
วรรณคดีที่ดีต้องให้คุณค่าหลายประการเช่น
๙.1)
คุณค่าทางอารมณ์
วรรณคดีที่ดีต้องทำให้ผู้อ่านเกิดความคล้อยตามไปด้วยอาจจะเป็นอารมณ์ที่พึงพอใจหรือไม่พึงพอใจ
หรอืมีทั้งสองประการก็ได้
๙.๒)
คุณค่าด้านความรู้ ได้แก่ ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ตำนาน ภาษา ประเพณี
ความเชื่อ และวัฒนธรรมต่างๆ
ของสมัยที่แต่งวรรณคดีเรื่องนั้นๆตลอดจนความรู้เกี่ยวกับประวัติและบุคลิกภาพของกวีด้วย
๙.๓)
คุณค่าด้านคติธรรมหรือการชี้ให้เห็นความจริงแท้ของชีวิต
๙.๔)
คุณค่าด้านปัญญาหรือความคิด
๙.๔)
คุณค่าด้านวรรณศิลป์
เป็นการพิจารณาศิลปะในการแต่งบทประพันธ์เป็นการศึกษาเรื่องความไพเราะของบทประพันธ์
๑.
ความไพเราะอันเกิดจากรสคำ
๒.
ความไพเราะอันเกิดจารสความ
กล่าวโดยสรุป คือ
หลังจากที่นักเรียนได้ศึกษาทำความเข้าใจกับส่วนประกอบต่างๆของวรรณคดีมาอย่างละเอียดเป็นเป็นที่เข้าใจทุกแง่ทุกมุมดังกล่าวข้างต้นแล้วนักเรียนควรจะสรุปอย่างมีหลักเกณฑ์ได้ว่า
วรรณคดีเรื่องที่อ่านนั้นมีคุณภาพดีหรือไม่อย่างไร เพราะเหตุใด
โดยพิจารณาจากเนื้อเรื่อง กลวิธีการแต่ง
และท่วงทำนองการแต่งเฉพาะตัวของกวีว่าดีเด่นหรือด้อยในเรื่องบ้าง
พิจารณาว่าวรรณคดีเรื่องนั้นๆอ่านแล้วได้รับความเพลิดเพลินมากน้อยเพียงใด
เกิดความรู้สึกคล้อยตามหรือไม่
ดังนี้จะเห็นได้ว่าการวิจักษ์วรรณคดีแต่ละเรื่องจะมีประโยชน์มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับความรู้ความสามารถของผู้วิจักษ์วรรณคดีแต่ละคนเป็นประการสำคัญ